วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562


ศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่
งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์
IMPACT Challenger Muang Thong Thani    Hall 6-12
วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562
เวลา 13.30-17.30 น.


นิทรรศการประกอบด้วย
1. พระอัจฉริยภาพ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และพระอัจฉริยภาพพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย
นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระบรมวงศานุวงศ์
2. นิทรรศการกลาง
นำเสนอประเด็นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำลังอยู่ในความสนใจของประชาชน หรือมีความสำคัญ มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการพัฒนาประเทศในอนาคต
ซึ่งควรสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนและเยาวชน โดยในปี 2562 มีนิทรรศการพิเศษ อาทิ
- นิทรรศการสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเรื่องพลาสติก
- นิทรรศการปีแห่งตารางธาตุสากล
- นิทรรศการนิทรรศการมหัศจรรย์แห่งวิทยาศาสตร์เรื่อง Nikola Tesla ยอดนักวิทย์ผู้คิดเปลี่ยนโลก
- นิทรรศการ ๕๐ ปี Moon landing
- นิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพ
- นิทรรศการข้าว
- นิทรรศการพื้นที่นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ สู่ผลงานสิ่งประดิษฐ์ Engineering space
3. กิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในแนวทางสะเต็มศึกษา
- กิจกรรมห้องทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับครอบครัวและเยาวชน
- กิจกรรมลานประกวดแข่งขัน เครื่องบินกระดาษพับ
- กิจกรรมลานปลูกฝังปัญญาเยาว์ สำหรับพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของเด็กก่อนวัยเรียนในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย
- ห้องฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์
- การแสดงทางวิทยาศาสตร์
- การประกวดแข่งขันตอบปัญหา มอบรางวัล
4. นิทรรศการศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย
- แสดงผลงานความก้าวหน้าด้านการวิจัย การประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกิจการด้านต่าง ๆ
ของประเทศ จัดแสดงโดยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ในประเทศไทย จากสถาบันวิจัย สมาคม สถาบันการศึกษา และกระทรวง ทบวง กรม
- ผลงานวิจัยของหน่วยงานวิจัยของกระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงกลาโหม และอื่นๆ
- โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยคลินิกเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย
- ผลงานชนะเลิศเครื่องจักร เครื่องยนต์ และนวัตกรรมจากการประกวดเทคโนโลยีของไทย
- ผลงานดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน นักศึกษา นักวิจัย
- การเชิดชูเกียรติผู้บำเพ็ญประโยชน์ในสาขาวิทยาศาสตร์ ผู้ได้รับรางวัลพระราชทานประจำปี รวมทั้งผู้เป็นบุคคลตัวอย่างด้านวิทยาศาสตร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น เป็นต้น
5. การประชุม สัมมนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ประกอบด้วยการประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
เพื่อการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์และนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ของประเทศและภูมิภาค


ไปถึง ก็ได้รับแสตมป์ ก่อนเข้างาน ดิฉันและเพื่อนๆ ได้เดินดูแต่ละบูทส์ บูทส์แรกที่เข้าคือ เรื่อง ตารางธาตุ  ได้ทำศิลปะเกี่ยวเรื่อง กรด เบส  เล่นเกมบิงโกที่เกี่ยวกับตารางธาตุ คุณสมบัติของธาตุ








จากนั้นก็เดินไปที่โรงนา
เขาจำลองการปลูกข้าว มีเครื่องสีข้าว สมัยใหม่ และสมัยเก่า ได้เข้าไปร่วมกิจกรรม เล่นเกมส์ และ จำลองการไถนา





ต่อมาก็ได้ไปเล่นเกมประเภท Virtual Reality แนวซิมูเลชั่นจำลองสถานการณ์ส่วนมากก็จะให้ผู้เล่นได้สวมบทบาทให้ทำตามคำสั่งที่ตัวเกมบอกเอาไว้อย่างเช่นจำลองการทำอาหารหรือจำลองเป็นพนักงานออฟฟิศแต่เกม VR ที่จะนำเสนอต่อไปนี้จะมาในอีกรูปแบบที่คล้าย ๆ กันแต่น่าสนใจกว่าเพราะว่าเป็นเกม VR ที่จะให้คุณทำไก่ทอด KFC ของผู้พันแซนเดอส์ในตำนาน





ก่อนกลับได้เข้าไปเล่น บูทส์ MOON WALK SIMULATION จำลองการเดินบนดวงจันทร์
 โดยข้อมูลบอกไว้ว่า แรงโน้มถ่วงบนดวงจันทร์ไม่เท่ากับโลก การเดินบนดวงจันทรืจะต้องแบกรับน้ำหนักของตัวเองน้อยกว่าปกติ





สรุปการไปทำกิจกรรม
ได้รับความรู้อย่างหลากหลายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ที่สามารถนำมาสอนเด็กปฐมวัยได้ด้วย เป็นการไปทำกิจกรรมที่ดีและสนุกได้ความรู้เป้นอย่างมาก อยากทำอีกหลายอย่างแต่เวลามีน้อยเลยเดินชมได้ไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร และได้ไปเดินชมแต่ไม่ได้เก็บภาพไว้ ดิฉันได้ประสบการณ์อย่างหลากหลาย และถ้ามีโอกาสก็อยากจะไปอีก

การเดินทาง นั่งรถแท็กซี่ไป ราคา 145 บาท หาร 4 คน




สรุปบทความ
การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆ สำหรับคุณหนูๆ
วัยเด็กเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น และเป็นวัยที่กำลังมีการพัฒนาทางปัญญา การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะช่วยส่งเสริมด้านความคิดของพวกเขา และกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัว เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการวัดที่มาพร้อมกับทักษะการคำนวณ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ยังสามารถช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเขาซึ่งเกิดจากความซับซ้อนของธรรมชาติและจักรวาล เราเข้าใจถึงวัยเด็กที่ต้องการการเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ

อ่านต่อได้ที่ https://www.breeze.co.th
สรุปวิจัย
ชื่อเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้รฐานของเด็กปฐมวัย

ชื่อผู้วิจัย ธนวรรณ มณี
ปีที่พิมพ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. 2550

จุดมุ่งหมาย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา

คำนิยามศัพท์เฉพาะ
1.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาหมายถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติอย่างมีระบบจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยวิธีการคิดอย่างสมเหตุสมผลโดยใช้กระบวนการหรือวิธีการความรู้ทักษะต่าง ๆ และความเข้าใจในปัญหานั้นมาประกอบกันเพื่อเป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาแล้วให้ข้อสรุปเป็นคำตอบของปัญหานั้น
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยหมายถึงความสามารถที่เกิดจากการปฏิบัติฝึกฝนกระบวนการทางความคิดอย่างมีระบบในการค้นหาความรู้และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์จนเกิดความชำนาญอย่างมีระเบียบแบบแผนตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งเริ่มจากทักษะระดับง่าย ๆ ไปสู่ระดับที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร ได้แก่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปีระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) จังหวัดสงขลามีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 132 คนจำนวน 4 ห้องเรียน
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปีระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาจำนวน 1 ห้องเรียนจำนวนนักเรียน 38 คนซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

วิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ก่อนดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองซึ่งประกอบด้วยแผนการจัดประสบการณ์ตารางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สื่อการสอนแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและทำการทดสอบก่อนจัดประสบการณ์การเรียนรู้กับนักเรียนด้วยแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชั้นอนุบาล 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและบันทึกผลการทดสอบไว้เป็นคะแนนก่อนจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
2. ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาจำนวน 4 แผนการสอนโดยใช้เวลาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้รวมระยะเวลา 4 สัปดาห์สัปดาห์ละ 5 ครั้งในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ใช้เวลาประมาณ 20-25นาที (1 สัปดาห์ / 1 ชั่วโมง 40 นาที)
3. เมื่อสิ้นสุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทำการทดสอบหลังจัดประสบการณ์การเรียนรู้กับนักเรียนด้วยแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และบันทึกผลการทดสอบไว้เป็นคะแนนหลังจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
4. นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาสรุปและอภิปรายผล

สรุปผลการวิจัย
1.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาช่วยพัฒนาทักษะการสังเกตของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานในการที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ หู ตาจมูก ลิ้น ผิวกายสัมผัส การสังเกตของเด็ก ๆ ในระยะแรก ๆ ยังไม่มีประสบการณ์ในการสังเกตสิ่งต่าง ๆ เท่าที่ควร
2.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาช่วยพัฒนาทักษะการวัดของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาซึ่งเป็นทักษะกระบวนการรวบรวมข้อมูลเพื่อบอกขนาดปริมาณกะระยะประมาณสิ่งที่เห็นหรือใช้เครื่องมือในการวัดเช่นเมื่อให้เด็ก ๆ ทุกคนช่วยกันปฏิบัติกิจกรรมประกอบอาหารข้าวผัดอนามัยทุกคนจะช่วยกันคิดว่าจะใช้อุปกรณ์ใดในการชั่งน้ำหนักของผักหรือตวงข้าวสวยที่ถ้วยตวงจึงจะใช้ผัดข้าวผัดในปริมาณที่พอเหมาะและต้องใส่น้ำปลาน้ำตาลที่ซ้อนจึงจะมีรสชาติที่อร่อยแต่ก็มีเด็ก ๆ บางคนนำถ้วยตวงมาตวงผักเพื่อให้ผักมีปริมาณเท่ากับข้าวสวยในการเรียนรู้ด้วยตนเองเด็ก ๆ จะพบข้อผิดพลาดและเรียนรู้ที่จะปฏิบัติสิ่งที่ถูกต้องด้วยตนเองไปพร้อม ๆ กันด้วยสอดคล้องกับงานวิจัยของอัญชลีชัยรัชตกุล (2546 บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการแสดงปริมาณสูงขึ้น
3.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาช่วยพัฒนาทักษะการจำแนกประเภทของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาซึ่งเป็นทักษะความสามารถในการจัดแบ่งโดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่งเรียงลำดับความแตกต่างและความเหมือนระหว่างสิ่งของด้วยลักษณะต่าง ๆ
4.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาช่วยพัฒนาทักษะการสื่อความหมายของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งแสดการสื่อความหมายจากคำพูดการบอกเล่าการใช้สัญลักษณ์ ฯลฯ ความสามารถในการสื่อความหมายเช่นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เรื่องการติดต่อสื่อสารการใช้เครื่องมือในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันโดยวิธีใดที่สะดวกรวดเร็วที่สุดจากการทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง
      5. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาช่วยพัฒนาทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาซึ่งเป็นทักษะในการตีความสรุปความคิดเห็นที่ได้จากข้อมูลโดยอาศัยความเข้าใจเช่นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาเมื่อเด็ก ๆ ได้ทำการทดลองปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองสามารถบอกได้ว่าอะไรเกิดขึ้นมีสาเหตุใดหลังจากนั้นผลของการคิดหรือทดลองจะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้หรือไม่
วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
รหัสวิชา EAED3207
ผู้สอน อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ

ครั้งที่ 4
อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปค้นคว้าหาการทดลองวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยมาคนละ 1 การทดลอง
การทดลองของฉันคือ จรวดถุงชามหัศจรรย์ (Tea bag Rocket)

สิ่งที่คุณต้องเตรียม
1.ถุงชา
2.ไฟแช็ค หรือไม้ขีดไฟ
3.ถาด (เอาไว้รองพวกเปลวไฟ)
4.ถุงขยะ (สำหรับไว้ใส่ถุงชาที่ไหม้แล้ว)

วิธีการทดลอง
          ตัดถุงชาด้านหนึ่งออก เทผงชาที่อยู่ด้านในทิ้ง จากนั้นนำถุงชามาตั้งเป็นทรงกระบอกลงบนถาด จุดไฟบนปากถุง แล้วเราลองมาดูกันว่าตอนปล่อยตัวจรวดถุงชาขึ้นฟ้านั้นจะเจ๋งแค่ไหน


ทำไมถุงชาถึงลอยได้ ?
          เหตุผลที่ถุงชาลอยขึ้นได้นั้น เนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของมวลอากาศร้อนภายในถุง ซึ่งลมร้อนนั้นเป็นอากาศที่เบามาก ส่งผลให้จรวดถุงชาลอยได้นั่นเอง

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
รหัสวิชา EAED3207
ผู้สอน อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ

ครั้งที่ 8

วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงวันไปลงทำกิจกรรม เชื่อมโยงจากการทำการทดลองวิทยาศาสตร์ คุย และเขียนตัวอย่างรายงาน จากนั้นได้แจกแจงเวลา อุปกรณ์และวางแผนการดำเนินการ เขียนลงกระดาษส่งงานในกระดานโซเชียลเป็นการเสร็จสิ้นของวันนี้

ภาพบรรยากาศในห้องเรียน





คำศัพท์
1. Recommend แนะนำ
2. Experience arrangement การจัดประสบการณ์
3. Assigned มอบหมาย
4. Air อากาศ
5. Disadvantage ข้อเสีย

การประเมิน
อาจารย์ เข้าตรงเวลา ให้คำแนะนำที่ดี
ตนเอง เข้าห้องตรงเวลา ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงานส่ง
เพื่อน ตั้งใจฟัง ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2562
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
รหัสวิชา EAED3207
ผู้สอน อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ

ครั้งที่ 7

ในเช้าวันนี้อาจารย์ได้ให้ทุกกลุ่มออกมานำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์อีกครั้ง ต่างจากครั้งที่แล้วมากครั้งนี้ต้องมีความพร้อม และการมีบทบาทหน้าห้องที่ดี การพูด ถาม ตอบ กับเด็กเป็นคำพูดที่ง่ายและเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การทวนคำศัพท์วิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กได้จำ แต่ละขั้นตอนที่นำเสนออาจารย์จะนำมาถามหลังจากเราทดลองเสร็จเรียนร้อยหรือการประเมินงานกลุ่มนั้นเอง พร้อมกับให้คำแนะนำเพื่อนำไปปรับปรุงในทางที่ดีขึ้นอีกด้วย



กิจกรรมส่งท้ายของวันนี้ คือ แรงตึงผิวของน้ำ โดยแบ่งกลุ่มให้เท่าๆกัน ตั้งสมมติฐาน และเริ่มหยอดเหรียญลงไปในภาชนะที่เตีรยมไว้พร้อมกับสังเกตน้ำ สรุปได้ว่า แรงตึงผิว คือ แรงต้านที่ผิวหน้า ของของเหลวใดๆ เป็นแรงเกาะติด ระหว่างโมเลกุลที่ผิวของของเหลว ของเหลวที่มีแรงตึงผิวสูง จะมีแรงเกาะติดระหว่างโมเลกุลมาก ทำให้ควบคุมรูปร่างให้มีพื้นที่ผิวต่อปริมาตรน้อยที่สุด เป็นทรงกลม เป็นหยด

ภาพบรรยากาศในห้องเรียน






คำศัพท์
1.Surface tension แรงตึงผิว
2.Surface film แรงต้านผิวน้ำ
3.Cohesion force แรงเกาะติด
4. Hypothesis สมมติฐาน
5. Overflow ล้น

การประเมิน
อาจารย์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเอง ให้คำแนะนำอย่างละเอียดกับนักศึกษาเป็นอย่างดี
ตนเอง มีความตั้งใจดูเพื่อนนำเสนองานหลังจากนำเสนองานเสร็จก็ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
เพื่อน นำเสนอผลงานได้เป็นอย่างดี ตั้งใจฟังเพื่อน คำอธิบายของอาจารย์ และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
รหัสวิชา EAED3207
ผู้สอน อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ

ครั้งที่ 6

สำหรับวันนี้ในต้นชั่วโมงอาจารย์ได้ให้ออกมานำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ของแต่ละกลุ่มตามใจตนเองว่าจะนำเรื่องใดมาเสนอ ในการทดลองอาจารย์ได้พูดแทรกความรู้ให้นักศึกษาได้คิด หรือคำแนะนำในการนำการทดลองไปปฏิบัติในการสอนในอนาคต คำพูด การถาม การทำให้เด็กได้สนใจ และนำเสนอการทดลองต่อในสัปดาห์หน้า


จากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายงานในห้องโดยแบ่งเป็นกลุ่มตามกลุ่มงานทดลองวิทยาศาสตร์ ให้วาดแหล่งที่มีน้ำโดยให้วาด ห้ามเขียนตัวหนังสือใดๆลงไป เพื่อเป็นเกมในการทายเพื่อนๆว่าสถานที่ที่เราวาดคือที่ใด ในการทำกิจกรรมนี้ทำให้พวกเราได้คิด ได้ลงมือวาด ฝึกการสังเกต ทวนความจำ และการนำความรู้เดิมมาใช้


ส่วนท้ายชั่วโมงเรียน ต่อยอดจากผลงานที่แล้วโดยให้คิดการทำที่กักเก็บน้ำ มีข้อกำหนดว่า ต้องมีความสูงจากพื้นจำนวน 5 ฝ่ามือ (อาจารย์ทำฝ่ามือไว้ให้ด้วยกระดาษแข็ง) หนังสือพิมพ์ กาวหนังไก่ กิจกรรมนี้ทำให้เราได้ช่วยกันคิด การลองผิดลองถูก การให้กำลังใจจากคนในกลุ่ม การช่วยเหลือกัน และมีความพยายามนำไปสู่ความสำเร็จ

ภาพบรรยากาศในห้องเรียน





คำศัพท์
1. Visibility การมองเห็น
2. Candle เทียนไข
3. A glass of water แก้วน้ำ
4. Lighter ไฟแช็ค
5. Water น้ำ

การประเมิน
อาจารย์ มาตรงเวลา สอนนักศึกษาด้วยความสนุก เพลิดเพลิน
ตนเอง มาตรงเวลาตั้งใจฟัง ตั้งใจเรียน รับฟังคำแนะนำอาจารย์เป็นอย่างดี
เพื่อน ตั้งใจฟัง มาตรงเวลา ให้ความร่วมมือกับงานกลุ่มเป็นอย่างดี
วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
รหัสวิชา EAED3207
ผู้สอน อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ

ครั้งที่ 5

วันนี้อาจารย์ได้นัดมอบหมายงานของแต่ละกลุ่ม จากนั้นให้เลือก 1 การทดลองนำมาเสนอหน้าห้องในสัปดาห์ต่อไป

ภาพบรรยากาศในห้องเรียน



คำศัพท์
1.Opinion ความคิดเห็น
2.Conclusion ข้อสรุป
3. Experiment การทดลอง
4.Shadow เงา
      5. Objective วัตถุประสงค์

การประเมิน
อาจารย์ ให้คำแนะนำคำปรึกษาเป็นอย่างดี
ตนเอง ตั้งใจฟังคำอธิบายงานของอาจารย์
เพื่อน ตั้งใจฟัง มาตรงเวลา