วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สรุปวิจัย
ชื่อเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้รฐานของเด็กปฐมวัย

ชื่อผู้วิจัย ธนวรรณ มณี
ปีที่พิมพ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. 2550

จุดมุ่งหมาย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา

คำนิยามศัพท์เฉพาะ
1.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาหมายถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติอย่างมีระบบจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยวิธีการคิดอย่างสมเหตุสมผลโดยใช้กระบวนการหรือวิธีการความรู้ทักษะต่าง ๆ และความเข้าใจในปัญหานั้นมาประกอบกันเพื่อเป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาแล้วให้ข้อสรุปเป็นคำตอบของปัญหานั้น
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยหมายถึงความสามารถที่เกิดจากการปฏิบัติฝึกฝนกระบวนการทางความคิดอย่างมีระบบในการค้นหาความรู้และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์จนเกิดความชำนาญอย่างมีระเบียบแบบแผนตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งเริ่มจากทักษะระดับง่าย ๆ ไปสู่ระดับที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร ได้แก่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปีระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) จังหวัดสงขลามีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 132 คนจำนวน 4 ห้องเรียน
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปีระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาจำนวน 1 ห้องเรียนจำนวนนักเรียน 38 คนซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

วิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ก่อนดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองซึ่งประกอบด้วยแผนการจัดประสบการณ์ตารางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สื่อการสอนแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและทำการทดสอบก่อนจัดประสบการณ์การเรียนรู้กับนักเรียนด้วยแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชั้นอนุบาล 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและบันทึกผลการทดสอบไว้เป็นคะแนนก่อนจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
2. ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาจำนวน 4 แผนการสอนโดยใช้เวลาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้รวมระยะเวลา 4 สัปดาห์สัปดาห์ละ 5 ครั้งในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ใช้เวลาประมาณ 20-25นาที (1 สัปดาห์ / 1 ชั่วโมง 40 นาที)
3. เมื่อสิ้นสุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทำการทดสอบหลังจัดประสบการณ์การเรียนรู้กับนักเรียนด้วยแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และบันทึกผลการทดสอบไว้เป็นคะแนนหลังจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
4. นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาสรุปและอภิปรายผล

สรุปผลการวิจัย
1.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาช่วยพัฒนาทักษะการสังเกตของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานในการที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ หู ตาจมูก ลิ้น ผิวกายสัมผัส การสังเกตของเด็ก ๆ ในระยะแรก ๆ ยังไม่มีประสบการณ์ในการสังเกตสิ่งต่าง ๆ เท่าที่ควร
2.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาช่วยพัฒนาทักษะการวัดของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาซึ่งเป็นทักษะกระบวนการรวบรวมข้อมูลเพื่อบอกขนาดปริมาณกะระยะประมาณสิ่งที่เห็นหรือใช้เครื่องมือในการวัดเช่นเมื่อให้เด็ก ๆ ทุกคนช่วยกันปฏิบัติกิจกรรมประกอบอาหารข้าวผัดอนามัยทุกคนจะช่วยกันคิดว่าจะใช้อุปกรณ์ใดในการชั่งน้ำหนักของผักหรือตวงข้าวสวยที่ถ้วยตวงจึงจะใช้ผัดข้าวผัดในปริมาณที่พอเหมาะและต้องใส่น้ำปลาน้ำตาลที่ซ้อนจึงจะมีรสชาติที่อร่อยแต่ก็มีเด็ก ๆ บางคนนำถ้วยตวงมาตวงผักเพื่อให้ผักมีปริมาณเท่ากับข้าวสวยในการเรียนรู้ด้วยตนเองเด็ก ๆ จะพบข้อผิดพลาดและเรียนรู้ที่จะปฏิบัติสิ่งที่ถูกต้องด้วยตนเองไปพร้อม ๆ กันด้วยสอดคล้องกับงานวิจัยของอัญชลีชัยรัชตกุล (2546 บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการแสดงปริมาณสูงขึ้น
3.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาช่วยพัฒนาทักษะการจำแนกประเภทของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาซึ่งเป็นทักษะความสามารถในการจัดแบ่งโดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่งเรียงลำดับความแตกต่างและความเหมือนระหว่างสิ่งของด้วยลักษณะต่าง ๆ
4.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาช่วยพัฒนาทักษะการสื่อความหมายของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งแสดการสื่อความหมายจากคำพูดการบอกเล่าการใช้สัญลักษณ์ ฯลฯ ความสามารถในการสื่อความหมายเช่นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เรื่องการติดต่อสื่อสารการใช้เครื่องมือในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันโดยวิธีใดที่สะดวกรวดเร็วที่สุดจากการทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง
      5. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาช่วยพัฒนาทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาซึ่งเป็นทักษะในการตีความสรุปความคิดเห็นที่ได้จากข้อมูลโดยอาศัยความเข้าใจเช่นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาเมื่อเด็ก ๆ ได้ทำการทดลองปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองสามารถบอกได้ว่าอะไรเกิดขึ้นมีสาเหตุใดหลังจากนั้นผลของการคิดหรือทดลองจะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้หรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น